วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

Day7.2: I can change [I see]

ต่อเนื่องจากBlogที่แล้ว วันนี้เราก็ยังมาในธีม I can change! หลังเล่าเรื่องในห้องเรียนวันนั้น ชั่วโมงถัดมาเราก็ได้เรียนวิธีการเล่าเรื่องแบบ "ดีๆ" คือไม่ใช่แค่ใช้คำศัพท์ถูกแต่เป็นการเล่าเรื่องที่ทำให้คนฟังสนุกและสนใจ คราวนี้เราก็ได้เราก็ได้มิชชั่นให้กลับไปใช้เวลากับตัวเอง และเขียนเล่าเรื่องเวอร์ชั่นที่ดีที่สุดออกมา ซึ่งก็ออกมาเป็นแบบนี้

赤ちゃんは夕べ見た映画の主人公のように馬に乗りたいと思って、そのとき寝ている犬を見かけました。「そうだ、犬もいいじゃない。背中も高くないし...」赤ちゃんはそう思って、寝ている犬のところへハイハイで忍び寄っていきました。静かにハイハイすると思ったのに、犬の前までやってくると、突然犬が目を覚まして、赤ちゃんと目が合ってしまいました。「きゃあ!」赤ちゃんはびっくりして、犬のところを離れました。あせってしまいましたが、犬と遊びたい赤ちゃんはあきらめないで、もう一度犬に近づいています。「前にいったらやっぱり起きちゃうんだな。でも、後ろからだったら、きっと犬に気づかれないように乗れる。」赤ちゃんはそう思って、今度犬の背後に回り込もうとします。しかし、たどり着いくと、「あれ!な...なんで!」赤ちゃんが驚いて、何でもいえません。なぜなら、赤ちゃんの目の前にあるのは犬の尻尾ではなくて、また犬の顔だからです。実は赤ちゃんが計画を作って、犬にハイハイしてきているとき、犬も向きを変えて、横になりました。赤ちゃんだけではなく、犬にもなぜまた赤ちゃんと顔を合わせてしまいましたのか分かりませんでしょうね。

 การเล่าเรื่องครั้งนี้ ต่างจากครั้งที่แล้วอย่างสิ้นเชิง สาเหตุสำคัญคือเพราะรู้คำศัพท์ที่ใช้ในการบรรยายแล้วนั่นเอง ครั้งที่แล้วที่ต้องเล่าให้เพื่อฟังในชั่วโมง มีคำศัพท์ที่ไม่รู้เยอะเกินไป ไหนจะตื่นเต้น เลยเล่าเรื่องแบบลื่นไหลประติดประต่อไม่ได้ แต่ครั้งนี้ได้ใช้คำศัพท์เช่นハイハイするหรือ 回り込むพอรู้คำศัพท์หลักก็สามารถเเล่าเรื่องและเติมรายละเอียดอื่นๆให้เรื่องน่าสนใจมากขึ้นได้ 
 อีกอย่างที่ทำให้การเล่าเรื่องครั้งนี้แตกต่างจากครั้งแรกคือความน่าสนใจของเรื่อง ครั้งที่แล้วแค่นึกคำศัพท์ให้ออกก็ยากแล้ว เลยไม่ได้ใส่ใจว่าเรื่องที่เล่าสนุกไหม ขอให้คนฟังเข้าใจเป็นพอ แต่ครั้งนี้ได้ลองใช้เทคนิคใหม่ๆที่เรียนรู้มา เช่น ใส่ความคิดของตัวละครและความคิดเห็นของตัวเองลงในเรื่องที่เล่า และไม่ใช้กาลเดียวตลอดทั้งเรื่อง มีทั้งเป็นรูปอดีตบ้าง ปัจจับันบ้าง และใช้ てしまいましたมากขึ้น
 จุดต่างสุดท้ายคือลำดับเรื่อง จะเห็นว่าเรื่องที่เล่ารอบนี้สั้นกว่ารอยที่แล้วมาก เพราะไม่มีการพูดซ้ำไปมา แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะครั้งนี้เป็นการเขียนไม่ใช่การเล่าสด เลยมีเวลาลำดับความคิด ถ้าตอนเล่าเรื่องให้เพื่อนฟังจริงๆสามารถเล่าได้อย่างนี้ เพื่อนน่าจะเข้าใจได้มากกว่าครั้งก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น